วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เเมงเเคน

ไปจับเเมงเเคนมากินกัน





เดี๋ยววันหลังถ้าได้ไปอีก จะเอารูปต้นไม้ที่มันอยู่มาฝาก

หลังจากที่จับตัวของมันเเล้ว มือของเราก็จะเป็นอย่างนี้
          สาเหตุก็เนื่องจากว่าโดนเยี่ยว(ปัสสาวะ... เด๋วหาว่าไม่สุภาพ อิอิ) ของมัน เวลาไปจับตัวมันก็จะเยี่ยวรดมือเรา ถ้าโดนมือก็จะไม่เเสบเท่าไหร่ เเต่ถ้าว่าโดนที่อื่นละก็ เเสบร้อนไปทั่วอันตรายมากอ่ะ โดยเฉพาะดวงตาต้องยิ่งดูเเลอย่างดี ไม่งั้นตาอาจจะบอดได้ เเค่โดนผิวหนังอ่ะ ก็ว่าทรมาณมากเเล้ว เมื่อก่อนนั้นหากินง่ายมากเพราะว่ามีป่าเยอะ ถึงเเม้ว่าหน้าร้อนไฟป่าจะไหม้ต้นไม้ไปเยอะ เเต่พอฝนตกลงมา ต้นจิกต้นน้อยก็จะงอกใบอ่อนออกมา ต้นจิกนี่เเหล่ะเป็นที่อยู่ของมัน เเต่ตอนนี้ป่าเหลือน้อยหายาก เเต่ก่อนเวลาหามาได้ขอกันกินเเบ่งกันกินก็ได้ มาตอนนี้ขายอย่างเดียว ราคา ประมาณ กิโลกรัมละ 400-500 บาท สูงกว่าราคาเนื้อ หมู วัว ควาย ในท้องตลาดเสียอีก .....อิอิอิ

เปิดเทอมแล้วพี่น้อง

ในช่วงนี้ ก็จะเปิดเทอม คงจะมีหลายๆ ท่าน กำลังคิดว่าจะศึกษาต่อที่ไหนดี บางคนก็หวังว่าจะได้ในสิ่งที่เราปราณถา พ่อเเม่บางคนก็บนบานศาลเจ้ากันใหญ่เลย ให้ลูกจับฉลากได้ ฮ่าๆๆๆๆๆ (จงฝันไปเสียเถ๊อะ) ทุกสิ่งที่อย่างมันก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราบ้างนะ ก่อนอื่นอย่างเเรก เราต้องพยายามสอบให้ผ่านตั้งใจเรียนน่าจะดีกว่านะ เเต่ว่าท่านใดเเก้ 0 เเก้ รอ ติดต่อมาได้นะถ้าว่าขี้เกลียดพิมพ์งานทำงานส่งอาจารย์เพราะว่ารับพิมพ์งานอยู่ (อิอิ) เข้าทางจนได้ คือมหาวิทยาลัยเปิดบางที่เขาก็มีคุณภาพสูงกว่ามหาวิทยาลัยบางเเห่งที่จ่ายครบจบเเน่ เอาดีไม่ได้เลยก็มีนะ

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เเมงอะไรหว่า ตกลงมาจากต้นมะพร้าวบ้านเรา

หน้าตามันก็เป็นพรรนี้เเหล่ะ เห็นตอนเเรกเเล้วตกใจ เพราะตั้งเเต่เกิดมาเพิ่งจะเคยเจอ.... นึกในใจมันเเมงอะไรน้อ....



วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

คำนำ
รายงานเรื่อง วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก  จัดทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย 1 ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา ที่เกี่ยวข้องต่างๆ และได้นำมาเรียบเรียงใหม่  หากมีข้อบกพร่อง หรือผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยไว้    โอกาสนี้ด้วย 



วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
วราภรณ์  รักวิจัย (2540, หน้า 19)  ได้กล่าวถึง คุณภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละคนตามวัยต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าใดขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนและประสบการณ์ทีต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยปัจจุบัน การเรียนรู้ครั้งแรกของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยถือว่า พ่อแม่คือครูคนแรกของลูก
พ่อแม่มีความสำคัญกับลูกเท่าๆกัน ต่างกันตรงที่การลูกฝังลักษณะบางประการให้ลูก พ่อแม่จึงต้องร่วมมือกันในการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีทั้งพ่อและแม่
1. ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ
1) เด็กชายและเด็กหญิง จะต้องเห็นแบบอย่างของผู้ใหญ่ชาย เพื่อจะได้รู้ว่าบทบาทของสามีหรือพ่อนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
2) เด็กชายจะได้ทราบว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะปฏิบัติอย่างไร ลูกชายอยากเคารพนับถือและเลียนแบบพ่อเท่านั้น พ่อจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกชาย
3) เด็กหญิงจะได้รู้จักบทบาทของผู้ชาย และหัดปรับตัวให้เข้ากับบทบาทของผู้ชาย
4) พ่ออาจช่วยปลูกฝังลักษณะทั่วไปของชายให้แก่ลูก ทั้งหญิงและชาย คือ ความเข้มแข็ง บึกบึน
5) พ่อที่สนิทสนมกับลูกชาย มีโอกาสที่จะพูดคุยกันอย่างลูกผู้ชาย ลูกจะไม่กลัว พ่อและไม่อับอายเมื่อเกิดความสงสัยในเรื่องเพศ หรือเรื่องอื่นๆ ก็จะได้ปรึกษาหารือกับพ่อ
6) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกผู้ชายกับพ่อ ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้วิธี ผูกมิตรไมตรีกับชายอื่นที่เขาต้องการสมาคมด้วย เพื่อการทำงานและอื่นๆ
7) ความเข้มแข็ง เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้นำในเรื่องต่างๆ จะช่วยให้ลูกชายเกิดศรัทธา และอยากเลียนแบบ
2.ความจำเป็นที่ต้องมีแม่
1) แม่ต้องคอยดูแลลูกให้ปฏิบัติตามแบบแผนที่วางไว้ กิน นอน เล่น เรียน พักผ่อนเป็นเวลา
2) จัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กิน และช่วยปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี
3) สอนให้รักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย ให้แต่งกายให้สะอาดประณีตอยู่เสมอ
4) คอยฝึกฝนกิริยามารยาทที่ดีงามตามความนิยมของวัฒนธรรมไทย เช่น มารยาทในการกิน การแสดงความเคารพผู้ใหญ่
5) สอนให้ลูกเก็บรักษาสมบัติข้าวของของตน และของครอบครัว ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6) สอนศีลธรรมโดยทำตัวอย่างที่ดีให้เห็น ช่วยให้เด็กเข้าใจความสำคัญที่ศาสนามีต่อการดำรงชีวิตของบุคคล เช่น ให้เด็กเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ฯลฯ
7) ลูกสาวต้องการให้ใกล้ชิดและเป็นเพื่อนกับแม่เพื่อจะเลียบแบบแม่ เห็นแบบอย่างความเป็นผู้หญิงจากแม่
8) ลูกสาวจะได้เรียนรู้สิ่งใดมีค่าสำหรับผู้หญิงจากแม่ และต้องพยายามหามาให้เป็นของตน เช่น ชีวิตสมรสที่ผาสุก บ้านที่น่าอยู่ ลูกที่น่ารัก คุณสมบัติของการเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี เรื่องเพศ การแต่งกาย กิริยามารยาท
9) ช่วยให้ลูกสาวพัฒนาทางอารมณ์ให้ความรู้เรื่องเพศ ตามวัยที่จะรับได้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต
สรุปได้ว่า พ่อแม่มีความสำคัญต่อการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีแก่ลูก เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม สามารถปรับตัวได้ดีในสังคม
บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
1. มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก จะต้องเข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของเด็กในวัยต่างๆ ไปตำหนิเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ผิดแปลก ควรหาสาเหตุทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก หาทางแก้ไขด้วยความรัก และเห็นใจเด็กเสมอ
2. สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน แบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ คือ
2.1 การตอบสนองความต้องการทางด้านสรีระวิทยา ได้แก่
1) การให้อาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
2) เอาใจใส่เรื่อง การพักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอกับวัยของเด็ก
3) ส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จัดอุปกรณ์ เครื่องเล่นตามสมควร
4) เอาใจใส่เรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจัดให้เพียงพอ เหมาะสมกับฤดูกาลและเศรษฐกิจ ดูแลความสะอาด ความเรียบร้อย
5) ฝึกหัดเรื่องขับถ่ายให้กับเด็กเมื่อถึงเวลาอันสมควร ด้วยความละมุนละม่อมและอดทน ไม่ใช้วิธีลงโทษรุนแรง โดยเริ่มฝึกให้นั่งกระโถน การจัดการขับถ่ายให้เป็นเวลา
6) สนใจเรื่องการป้องกันโรคและการเจ็บป่วยของเด็ก
7) ระวังเรื่องอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก
2.2 การตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยา ได้แก่
1) ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพ
2) ปฏิบัติกับเด็กให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในบ้าน
3) ในอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเองกับเด็ก ให้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง  ตามวัยอันสมควร ไม่เข้มงวดจนเกินไป ไม่ช่วยเหลือมากเกินไป
3. ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก ได้แก่
3.1 ให้เด็กรู้จักยกย่องวัฒนธรรมของชาติ เกิดความต้องการที่จะรักษามรดกทางวัฒนธรรม และประเพณีของไทยได้
3.2 ปลูกฝังลักษณะที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
3.3 อบรมมารยาทในสังคม เช่น ให้รู้จักกาลเทศะ มารยาทการรับประทานอาหาร
4. ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคล และสิ่งต่างๆ โดย
4.1 บิดา มารดา มีเจตคติที่ดีต่อบุคคลต่างๆ และสิ่งต่างๆ ก่อน แล้วเด็กจะเอาเป็นแบบอย่าง
4.2 ให้ความรักเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ และบุคคลต่างๆ  ในความเป็นจริง
4.3 อภิปรายร่วมกันในครอบครัว เช่น อภิปรายข่าวโทรทัศน์
4.4 จัดประสบการณ์ตรงให้กับเด็ก
4.5 ใช้การจูงใจ เช่น ชมเชย ยกย่องบุคคลที่ทำดี
5. ส่งเสริมความสนใจของเด็ก ทำได้โดย
5.1 จัดหาอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพระบายสีหนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน
5.2 พาออกไปดูสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พาไปสวนสัตว์ หรือ พิพิธภัณฑ์
6. ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
6.1 ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ความคิดในการแสดงออกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน
6.2 ฝึกให้เด็กมีสมาธิในการเรียน การศึกษาค้นคว้าต่างๆ ไม่ท้อถอยง่ายๆ
6.3 ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดก้าวหน้า พยายามแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถของตน
6.4 ให้ความเข้าใจในความงามของศิลปะต่างๆ และความไพเราะของดนตรี
6.5 ให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ
6.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยการให้โอกาสเด็กได้แสดงออก
6.7 ให้มีโอกาสเข้าเข้ารับผิดชอบในการทำงานส่วนรวม
6.8 ให้เรียนตามความถนัดเพื่อออกปฏิบัติงานตามที่ชอบและให้โอกาสใช้สติปัญญาได้อย่างเต็มความสามารถ
7. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก
7.1 พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เด็กรู้สึกว่า เขาได้รับความรักอย่างเพียงพออย่าให้สถานการณ์ทางบ้านบีบบังคับไม่ให้เด็กได้รับความอบอุ่น พยายามให้มีสิ่งน่าชื่นใจภายในบ้าน เพื่อที่เด็กจะไม่ต้องแสวงหาความรักนอกบ้าน แต่ให้ได้คบหาสมาคมกับเด็กดีๆ ได้แบบอย่างที่ดี
7.2 พ่อแม่ควรทำทุกอย่างให้เด็กเห็นว่าเป็นที่พึ่งแก่เขาได้ ทั้งร่างกายและจิตใจเมื่อเด็กมีปัญหาถามควรพร้อมที่จะตอบ หรือแก้ไขแนะนำให้เด็กรู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี แต่ควรให้เขาตัดสินใจอย่างอิสระ
7.3 ให้สภาวการณ์ต่างๆ ในครอบครัวเป็นเครื่องเร้าหรือกระตุ้นให้ชีวิตเขาเจริญเติบโต หางานให้เขาทำภายในบ้านเพื่อให้เกิดทักษะและช่วยพัฒนาด้านกล้ามเนื้อ
7.4 พ่อแม่เป็นแบบอย่างในความประพฤติดี เช่น พูดจาไพเราะ มีความรับผิดชอบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
7.5 ให้เด็กได้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ภายในครอบครัวเมื่อโตพอ อาจให้รู้ถึงรายจ่ายภายในบ้าน ให้รู้เรื่องการประหยัด การใช้จ่ายต่างๆ
7.6 ให้เด็กมีสิทธิ์มีเสียงตามความคิดอ่านของครอบครัว รู้เรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ตั้งขึ้นในบ้าน
8. ทำตัวเป็นครูของลูก
8.1 ให้โอกาสในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของลูกโดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู ปาก จมูก และผิวสัมผัส
8.2 ให้เวลาและความสนใจของลูกอย่างจริงจังในการฝึกฝนทักษะความรู้และการส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ
8.3 ให้กำลังใจในการฝึกหัดความชำนาญ และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
9. การให้แรงเสริมและการลงโทษ
9.1 พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ต่อความคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่างๆ ของลูกให้คำแนะนำ ส่งเสริมและเฝ้าดูแลผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทนเมื่อลูกประสบความสำเร็จ พ่อแม่ควรแสดงความดีใจอย่างชัดแจ้ง ชมเชยหรือการให้รางวัล
9.2 พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตาที่ตนต้องการจะให้เด็กเป็น พ่อแม่เป็นแบบอย่างโดยการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
9.3 พ่อแม่ ควรใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม การลงโทษยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก ตามทฤษฎีของโคลเบอร์ก กล่าวไว้ว่า ในเด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางร่างกายยังใช้ได้ดี เพราะเด็กในวัยนี้กำลังเกิดการเรียนรู้ โดยหลีกเลี่ยงการถูกทำโทษทางร่างกาย การตีเด็กเป็นการตีเพื่อการสั่งสอน ไม่ใช่ตีเพราะความโกรธหรือสาเหตุอื่น
การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารก
 เด็กวัยขวบปีแรก เป็นช่วงระยะของการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ทั้งร่างกายและสมอง การได้รับสัมผัสโอบกอดจากพ่อแม่ และดูดนมแม่ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดและบ่อยๆ ต่อเนื่องกัน จะกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนตอบสนองความตื่นตัวของระบบประสาทอย่างมีคุณค่าที่สุด
การเจริญเติบโตของเด็กวัยขวบปีแรก
แรกเกิด น้ำหนักโดยประมาณเฉลี่ย 3 กิโลกรัม ความยาว 50 เซนติเมตร  เส้นรอบศีรษะ 35 เซนติเมตร
อายุ 5-6 เดือน      น้ำหนัก 6 กิโลกรัม ยาว 65 เซนติเมตร
อายุ 12 เดือน       น้ำหนัก 9 กิโลกรัม ยาว 75 เซนติเมตร
เส้นรอบศีรษะ 47 เซนติเมตร


พัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี
เด็กวัยขวบปีแรก มีความเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายจนยากขึ้น มีทักษะ และปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
อายุ 1 เดือน  สบดา จ้องหน้าแม่
อายุ 2 เดือน คุยอ้อแอ้ ยิ้ม ชันคอในท่าคว่ำ
อายุ 3 เดือน ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง ส่งเสียงโต้ตอบ
อายุ 4 เดือน พยายามคว้าของเล่น หัวเราะเสียงดัง ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ ยิ้มทักทายแสดงอาการดีใจ เมื่อเห็นสิ่งที่พอใจ
อายุ 5 เดือน สามารถคืบ พลิกคว่ำ พลิกหงาย
อายุ 6 เดือน คว้าของมือเดียว หันหาเสียวเรียกชื่อ ส่งเสียงโต้ตอบ
อายุ 7 เดือน นั่งทรงตัวได้เอง เปลี่ยนสลับมือถือของได้
อายุ 8 เดือน มองตามของตก กลัวคนแปลกหน้า
อายุ 9 เดือน เข้าใจเสียงห้าม เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ นั่งได้มั่นคง คลานได้ ใช้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็กได้
อายุ 10 เดือน เหนียวตัว เกาะยืน เกาะดิน ส่งเสียงต่างๆ เช่น หม่ำ หม่ำ จ๊ะ จ๋า
อายุ 12 เดือน ตั้งไข่ พูดได้เป็นคำมีความหมาย เลียนเสียงพูด ทำท่าทาง ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
นมและอาหารตามวัย
1 น้ำนมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบถ้วนสำหรับเด็ก  คือ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ น้ำนมแม่ย่อยง่ายทำให้เด็กสามารถนำไปใช้ ในการเจริญเติบโตได้ง่าย และป้องกันเด็กจากโรคติดเชื้อ
การให้นมและอาหารตามวัยของเด็ก
1. เริ่มให้นมแม่ทันทีหลังคลอดภายในครึ่งชั่วโมง เพราะน้ำนมที่หลั่งออกมาใน 2-3 วันแรก เรียกว่า หัวน้ำนม เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกของชีวิตเด็ก
2. ต้องให้นมอย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารเต็มที่ นมแม่อย่างเดียว เพียงพอต่อความต้องการของลูก
3. อาจให้นมแม่ต่อถึงอายุอย่างน้อย 2 ปี หรือมากกว่านั้น เนื่องจากเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี แค่ควรให้ควบคู่กับอาหารตามวัย
4. เริ่มให้อาหารอื่นตามวัย เมื่อเด็กอายุ 4-6 ปี เดือนเต็ม
5. ต้องให้อาหารหลัก 5 หมู่ เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนเต็ม เด็กได้รับอาหารจากนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอ
6. การเริ่มอาหาร ควรเริ่มทีละน้อย และบดละเอียด เพื่อให้เด็กเคยชินเมื่ออายุ 7-8 เดือน จึงเริ่มบดหยาบเพื่อฝึกการใช้ฟันเคี้ยว


ข้อปฏิบัติในการให้อาหารตามวัย
สะอาด  อาหารที่ปรุงต้องล้างสะอาด ภาชนะที่ใช้ประกอบไม่ว่ามีด เขียง จาน ชาม ต้องล้างให้สะอาด และมือของผู้ปรุงก็ต้องล้างสะอาดด้วย นอกจากนั้นภาชนะ มีด เขียง ต้องแยกของเด็กออกจากผู้ใหญ่
สุกทั่วถึง อาหารของเด็กจะต้องปรุงให้สุก ไม่สุกๆ ดิบๆ เมื่อปรุงเสร็จ ทิ้งระยะเวลาให้อาหารพออุ่นๆ แล้วจึงนำมาป้อนเด็ก เมื่ออาหารเหลือก็ไม่ควรเก็บไว้ให้เด็กรับประทานในมื้อต่อไป
ไม่ปรุงรส อาหารของเด็กจะต้องมีรสจืดตามธรรมชาติ ไม่ควรใส่น้ำตาล เหลือ หรือผงชูรส
                เริ่มทีละน้อย ควรเริ่มให้อาหารทีละเล็กละน้อยเพื่อให้ร่างกายค่อยๆปรับ ค่อยๆชิน ฝึกความคุ้นเคย
อาการผิดปกติของเด็กที่เกิดจากการรับประทานอาหาร
ถ่ายเหลว ในระยะ 1-2 วันแรกเกิด เด็กจะถ่ายเป็นขี้เทา มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเหลืองแล้วจึงเป็นสีเหลืองอย่างปกติ มีเนื้อละเอียดค่อนข้างเหลว อาจจะถ่ายได้วันละ หลายครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นอาการท้องเสีย แต่ถ้าสีผิดปกติ มีน้ำมากกว่าเนื้อหรือมีจำนวนครั้งมากกว่าที่เด็กเคยถ่าย ควรปรึกษาแพทย์
ลิ้นเป็นฝ้า อาจเกิดจากคราบนมผสมเกาะ ถ้าให้เด็กดูดน้ำเพียงเล็กน้อยหลังกินนมผสมทุกครั้งก็อาจล้างออกได้ แต่ถ้าเป็นคราบเกาะติดแน่นใช้สำลีเช็ดไม่ออก อาจแสดงว่ามีการอักเสบจากเชื้อรา ไม่ควรกวาดยาให้เด็กควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตุ่มเม็ดขาวนูนที่เหงือกหรือเพดานเป็นของปกติที่อาจพบได้ จะหายไปเอง ไม่ควรสะกิดหรือบ่งออก
ถุงลิง  เป็นก้อนไขมันสะสมอาหารอยู่ที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างที่พบในเด็กทุกคน แต่จะพบมากในเด็กที่ขาดอาหาร ไม่ใช่สาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อยๆ หรือการไม่เจริญเติบโต แต่เป็นตัวสะสมสารอาหร ห้ามตัดหรือเกี่ยวถุงลิงออก
อาเจียน การแหวะนมเล็กน้อยในบางครั้งภายหลังกินนมเสร็จ มักพบในเด็กเล็ก ๆเกือบทุกคน แต่ถ้าอาเจียนมากและเป็นเกือบทุกครั้งหรือเป็นบ่อยควรพาไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคบางอย่างได้
ท้องผูก  เด็กปกติอาจถ่ายทุกวัน หรือ 3-4 วัน ครั้ง ถ้าถ่ายได้เองและอุจจาระมีลักษณะปกติไม่ถือว่าท้องผูก ไม่ต้องเหน็บยาหรือสวน หรือกินยาถ่ายแต่ถ้าอุจจาระแข็งมาก แสดงว่าท้องผูก อาจทำให้รอบทวารหนักแตกเป็นแผลเจ็บมาก ร้องให้เวลาถ่าย และอาจมีเลือดออกมาด้วย








การให้ภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุแรกเกิด -1 ปี

อายุ
  ให้วัคซีนป้องกันโรค
แรกเกิด
- วัคซีน บีซีจี  ป้องกันโรค
 - ตับอักเสบ ครั้งที่ 1
2 เดือน
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 1
- ตับอักเสบ บี  ครั้งที่ 2
4 เดือน
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 3
- โปลิโอ ครั้งที่ 2
6 เดือน
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 3
- ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 3
9-12 เดือน
- หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1

การดูแลสุขภาพอนามัย
1. การทำความสะอาดร่างกาย
- การทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ควรใช้สำลีชุบน้ำเช็ดให้สะอาดจึงนุ่งผ้าอ้อมผืนใหม่ การเช็ดอวัยวะเพศในเด็กผู้หญิงควรเช็ดจาก้านหน้า ลงไปทางด้านหลัง เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับ สำหรับเด็กชายควรขยับหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศล้างทำความสะอาด
- การอาบน้ำ ควรอาบน้ำให้เด็กอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง และควรอาบน้ำเวลานั้นเป็นประจำ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าเวลาไหนต้องทำอะไร
- การทำความสะอาดสะดือ ในช่วงที่สะดือเด็กยังไม่หลุด ควรดูแลทำความสะอาดไม่ให้สะดือแฉะ หลังอาบน้ำทุกครั้งให้ใช้สำลีเช็ดรอบๆ สะดือให้แห้ง จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดขอบและก้นสะดือให้ทั่ว
- การทำความสะอาด ตา หู และจมูก ควรใช้สำลีหรือผ้านุ่มที่สะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดเบาๆ
- เล็บมือ ควรตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมือและไม่ควรใส่ถุงมือตลอดเวลาเพราะการใส่ถุงมือทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้น้อย เด็กขาดโอกาสในการเล่นกิจกรรมที่ใช้นิ้ว
การดูแลช่องปากและฟัน
การทำความสะอาดช่องปาก เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด - 4 เดือน ไม่ต้องทำความสะอาดช่องปาก หากเด็กกินนมผสมอื่น และเริ่มกินอาหารตามวัย เมื่ออายุ 4 เดือน ขึ้นไป ควรใช้ผ้าสะอาดพันรอบนิ้วชี้ ชุบน้ำต้มสุกเช็ดเหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน ให้ทั่วทั้งปากหลังกินนมและอาหารตามวัยทุกมือ หรืออย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง

การดูแลของใช้สำหรับเด็ก
- เสื้อผ้าของเด็ก ควรแยกซัก ไม่ควรซักรวมกับเสื้อผ้าผู้ใหญ่ ผ้าที่เปื้อนอุจจาระแยกซัก ใช้ผงซักฟอกชนิดอ่อน สบู่ หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ซักต่อด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง จนสะอาด แล้วตากให้แห้ง
- เบาะที่นอน ไม่ควรนิ่มจนเกินไป เพราะกระดูกของเด็กในช่วงแรกเกิดยังอ่อนอยู่จึงต้องการที่นอนที่จะรองรับให้กระดูกอยู่ในรูปทรงที่ดี
- สถานที่นอน ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงเสียงรบกาวนที่ดังจนเกินไป และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อป้องกันแมลง มด และฝุ่น ควรมีมุ้งสำหรับกันแมลงและยุงทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
- ของเล่นเด็ก ควรทำความสะอาดของเล่นทุกวัน ของเล่นที่สีควรเป็นสีที่ปลอดภัยไม่มีส่วนผสมของตะกั่วและสารพิษ ไม่มีส่วนแหลมคมหรือกะเทาะง่าย พื้นผิวเรียบไม่ระคายเคืองต่อผิว ไม่แตกง่าย หรือมีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่หลุดง่ายและทำความสะอาดง่าย
การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
ถ้าเด็กมีลักษณะต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ถ้าอายุ 3 เดือนแล้ว เด็กไม่สบตา หรือยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ
- ถ้าอายุ 6 เดือนแล้ว ไม่มองตามหรือไม่หันหาเสียง หรือไม่สนใจคนมาเล่นด้วย ไม่พลิกคว่ำพลิกหงาย
- พัฒนาการล่าช้ากว่าวัย น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เจ็บป่วยบ่อยๆ
การพักผ่อน
เด็กแรกเกิดมีเวลาตื่นและเวลานอนไม่แน่นอน ร่างกายโดยเฉพาะสมองต้องใช้เวลาในการปรับตัว และเรียนรู้ความแตกต่างของช่วงกลางวันและกลางคืน ความต้องการการนอนของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันได้บ้าง โดยเฉลี่ยจะแบ่งอายุแรกเกิด -2 เดือน นอน 16-18 ชั่วโมง ต่อวัน จะหลับช่วงสั้นๆ หลายรอบ
อายุ 2-10 เดือน นอน 14-16 ชั่วโมงต่อวัน จะนอน 2-3 ช่วง ทั้งกลางวันและกลางคืน
อายุ 10-12 เดือน นอน 16-16 ชั่วโมง กลางคืนจะนอนในช่วงยาวขึ้น จนหลับได้ตลอดคืน
ข้อควรปฏิบัติในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด -1 ปี
- อุ้มเด็กพาดบ่าหลังดื่มนมทุกครั้ง อุ้ม กอด จูบ เด็กทุกครั้งด้วยสัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น มั่นคง ไม่รัดแน่นจนเด็กอึดอัด
- หยอกล้อ ให้เวลาพูดคุย เล่นของเล่นที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก
- ให้พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวช่วยเลี้ยงดูและเล่นกับเด็ก
ข้อไม่ควรปฏิบัติในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด – 1 ปี
- ผู้เลี้ยงดูโมโหง่าย โกรธง่าย
- ปล่อยให้เด็กร้องไห้นานๆ
- ใช้โทรทัศน์เลี้ยงเด็ก
- เปลี่ยนคนเลี้ยงดูบ่อยๆ
- ปล่อยเด็กเล็กๆ ให้บุคคลอื่นเลี้ยงตลอดเวลา
- แกล้งๆ แหย่กระตุ้นเด็กมากเกินไป (ตามความพอใจของผู้ใหญ่)
- ให้กล้วย อาหารที่ผู้ใหญ่เคี้ยวป้อน และอาหารอื่นก่อนอายุ 4 เดือน
- ให้นมข้นหวานแทนนมแม่ /นมผสม
- นำใบพลูไปอังไฟให้ร้อนแล้วแนบลูกอัณฑะเพื่อลดขนาดให้เด็กเดือนแรกๆ
- พูดช้า แก้โดยเอาตัวเขียดตีปาก
- ควักถุงลิง โดยใช้เข็มแทง
- ใช้ผ้าอ้อมเปียกฉี่เช็ดลิ้นเพื่อไม่ให้เกิดฝ้าขาว
การอบรมเลี้ยงดูเด็กอายุ 1-3 ปี
1. ธรรมชาติของเด็กวัย 1-3 ปี
อายุ 1-1 ปี 6 เดือน ร่างกายจะเจริญเติบโตเร็ว กลัวการอยู่คนเดียว กลัวคนแปลกหน้า กลัวความมืด
อายุ 1 ปี 6 เดือน ชอบสำรวจ ชอบเลียนแบบ
อายุ 2 ปี -3 ปี ชอบปฏิเสธ ช่างซัก ช่างถาม ช่างจำ
2. การเจริญเติบโตของเด็กวัย 1-3 ปี
จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ควรติดตามสังเกตเด็ก ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงแล้วบันทึกลงในสมุดบันทึกสุขภาพทุกครั้ง
3. พัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ปี
3.1 พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กเริ่มพัฒนาการจากยืนได้มาเป็นเดิน กระโดด เดินขึ้นบันได และสามารถขี่จักรยาน 3 ล้อ การใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือหยิบจับขีดเขียนอยู่ในท่อกำมือ
3.2 พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ และสังคม เด็กใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางจึงเอาแต่ใจตัวเองและยังสื่อภาษาได้ไม่เต็มที่ ต้องการเป็นอิสระ
3.3 พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กเรียนรู้ทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวลองผิดลองถูก
อายุ 1 ปี มีความอยากรู้อยากเห็น เลียนแบบสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
อายุ 1 ปี 6 เดือน วางของซ้อนกัน 2-3 ก้อนได้ ขีดเขียนได้เป็นเส้นยุ่งๆ
อายุ 2 ปี วางของซ้อนกันสูง 5-6 ก้อนได้ ชอบถาม “อะไร”
อายุ 3 ปี ร้องเพลงได้ นับเลขอย่างง่ายๆได้ เริ่มเล่นกับคนอื่น
3.4 พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารความหมาย
เด็กที่มีพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กพูดคุยอยู่ด้วยเสมอ ๆ หรือเล่านิทานให้ฟังก่อนนอนจะส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษา
อายุ 1 ปี ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ รู้จักชื่อตัวเอง
อายุ 1 ปี 6 เดือน พูดคำเดียวๆได้มากขึ้น ชอบเล่นชอบฟังเพลง
อายุ 2 ปี พูด 2-3 พยางค์ ต่อกันได้อย่างมีความหมาย บอกชื่อตัวเองได้
อายุ 3 ปี พูดเป็นประโยคและโต้ตอบ เข้าใจภาษาและทำตามคำสั่งได้ บอกเพศของตัวเองได้
นมและอาหารตามวัย
เด็กต้องการพลังงานและสารอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของสมอง สร้างเสริมภูมิต้านทานโรค สร้างสุขนิสัยในการรับประทานอาหาร เด็กควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละหมู่ควรกินไห้หลากหลาย วันละ 3 มือ และดื่มนมเป็นอาหารเสริม
การดูแลสุขภาพ
1. การดูแลรักษาสุขอนามัย
การรักษาความสะอาด
- อาบน้ำให้เด็กอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
- สระผมเด็กอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ด้วยยาสระผม
- สอนเด็กล้างมือก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย เพื่อฝึกสุขนิสัยที่ดี
การดูแลฟัน
ถ้าฟันน้ำนมแข็งแรง ฟันแท้ที่ขึ้นมาทดแทนจะไม่เกและซ้อน
- ทำความสะอาดฟันให้เด็กหลังอาหาร และก่อนนอน
- ให้ดื่มนมผสมจากแก้ว หรือใช้หลอดดูดจากล่องแทนการดูดจากขวด
- เลิกนมมื้อดึก และไม่ให้จุกนมในขณะที่หลับ
2. การพักผ่อน
อายุ 1-2 ปี กลางวันเด็กจะนอนช่วงสั้นๆ
อายุ 2-3 ปี ต้องการนอนพักเฉพาะตอนบ่าย ก่อนนอน อาจร้องเพลงกล่อมเบาๆ เล่านิทานให้ฟังหรือให้ดูสมุดภาพ
3. การขับถ่าย
อายุ 1 ปี 6 เดือน – 2 ปี จะเริ่มควบคุมการขับถ่ายอุจจาระได้
อายุ 3 ปี สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในเวลากลางวัน
การฝึกขับถ่าย ควรค่อยๆ ฝึกไปทีละน้อย และคอยให้กำลังใจเด็กไม่ควรเร่งรีบหรือบังคับและควรชมเชยเมื่อเด็กทำได้ เด็กจะควบคุมการถ่ายอุจจาระได้ ก่อนการควบคุมปัสสาวะ
4. การตรวจสุขภาพและการรับวัคซีน
เด็กยังไม่มีภูมิต้านทานโรคและเชื้อโรคต่างๆ พ่อแม่ควรนำเด็กไปรับการตรวจสุขภาพและรับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันตามวัยเป็นระยะตามอายุ
อายุ 1 ปี ตรวจสุขภาพ ตรวจสุขภาพปากและฟัน
อายุ 1 ปี 6 เดือน ตรวจสุขภาพ รับวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และโปลิโอ ครั้งที่ 4 ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่1-2
อายุ 2 ปี 6 เดือน  ตรวจสุขภาพ และตรวจสุขภาพ ปากและฟัน รับวัคซีน ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 3
 อายุ 3 ปี ตรวจสุขภาพและตรวจสุขภาพปากและฟัน
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กวัย 1-3 ปี สมองของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วการส่งเสริมพัฒนาการในวัยนี้ จะมุ่งเน้นกรตอบสนองของเด็กอย่างสมดุล รอบด้านตามแนวทาง
ลักษณะที่น่าสงสัยว่าเด็กอาจมีพัฒนาการที่ผิดปกติ
การเคลื่อนไหว
อายุ 1 ปี ไม่สามารถเกาะยืนได้
อายุเกิน 2 ปี ยังล้มง่าย งุ่มง่าม เก้ๆ กัง
การได้ยินเสียง
เด็กไม่หันตามเสียงเรียก
การมองเห็น
เด็กไม่มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้า ไม่คว้าของ ไม่ขมวดคิ้ว ไม่เอียงคอ หรือก้มหน้าชิดภาพ เดินชนสิ่งต่างๆ เป็นประจำเวลาสลัว เดินตกขอบ
การเล่น
เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดขณะที่เขาเล่น พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กควรจัดเวลาและสถานที่เพื่อให้เด็กเคลื่อนไหวออกกำลังกาย และเล่นได้อย่างปลอดภัย และควรหาเวลาเล่นกับเด็ก
อายุ 1 ปี มักจะเล่นคนเดียว ใช้มือจับของเอาเข้าปาก โยน กลิ้ง หรือเคาะ
อายุ 2 ปี เล่นน้ำ เล่นทราย
อายุ 3 ปี จะเล่นโดยร่วมมืออย่างมีความหมาย มีการสวมบทบาทเพิ่มขึ้น อานมีการเล่นสมมุติ มีจินตนาการมากขึ้น
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเล่น
1. ระวังการเล่นโลดโผน รุนแรง เช่น ปีนต้นไม้ หลังคา
2. ไม่ให้เด็กเล่นในสถานที่ ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ใกล้ถนน ใกล้น้ำ
3. เล่นเลียนแบบที่ไม่ดี เช่น เล่นอาวุธ เล่นเลียนแบบกิริยาที่ไม่เหมาะสม
4. เล่นของเล่นที่เป็นอันตราย เช่น ไม้ขีดไฟ ของเล่นมีคม ของที่มีพิษ
การจัดกิจวัตรประจำวัน
1. จัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะต่างๆ
- การรับประทานอาหารด้วยช้อน
- การดื่มน้ำจากถ้วย
- การใช้ห้องน้ำ
- การแต่งตัว การล้างมือ
2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่น จัดหาของเล่นให้เด็กมีโอกาสเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเด็กอื่น
3. จัดกิจกรรมอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน อาจให้เกิดนั่งตัก หรืออ่านให้ฟังกลุ่มย่อย 2-3 คน
4. จัดกิจกรรมให้เด็กเล่นกับวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ เช่น สีเทียน ขนาดใหญ่ ปั้นแป้งโดว์ ดินน้ำมัน ดินเหนียว สีน้ำกับกระดาษแผ่นใหญ่
5. จัดกิจกรรมให้เด็กอายุ ด2 ปี เล่นกลางแจ้ง เล่นน้ำ เล่นทรายเป็นประจำทุกวัน
6. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส ผิวหนังสัมผัส
ข้อควรปฏิบัติในการเลี้ยงดูเด็กวัย 1-3 ปี
- เล่านิทาน และอ่านหนังสือได้เด็กฟังทุกวัน
- ตอบคำถามของเด็กโดยไม่แสดงความรำคาญหรือดุกลับไป
- ตั้งคำถามให้เด็กรู้จักคิดและหาคำตอบเอง คำถามควรเป็นปลายเปิด
- ปลูกฝังคุณธรรม ระเบียบวินัย และแนวทางประชาธิปไตย
- ให้แรงเสริมชมเชย เมื่อเด็กสามารถทำสิ่งใดได้
- จัดสถานที่อุปกรณ์ต่างๆ ให้เด็กเล่นอย่างอิสระ
- ให้เด็กช่วยตัวเองและช่วยงานเบาๆ  โดยผู้ใหญ่จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นได้
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
- ผู้ใหญ่บังคับให้เด็กทำสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น บังคับให้นั่งนิ่งๆ เอามือกอดอก
- ให้เด็กแต่งกายผิดเพศ
- ใช้คำพูดที่มีความหมายไม่ดีกับเด็ก เช่น โง่ ไม่น่ารักเลย ไม่ดีเหมือน คนโน้น คนนี้
- ดุว่าเด็กโดยใช้เสียงดังเมื่อเด็กทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่พอใจ
การเตรียมเด็กสู่โลกกว้าง
เมื่อเด็กอายุเข้าขวบปีที่ 3 พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กสามารถช่วยเด็กเตรียมตัว เตรียมใจที่จะไปเรียนรู้โลกกว้างได้ เช่น สร้างทัศนคติที่ดีด้วยการเล่าเกี่ยวกับโรงเรียนให้ฟัง พาไปรู้ จักกับโรงเรียน สร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับคุณครู พาเด็กไปดูการจัดกิจกรรมในโรงเรียนว่าพี่ๆ เขาได้เล่นอะไรบ้าง และที่สำคัญต้องฝึกให้เด็กช่วยตนเองได้ เช่น รับประทานอาหารเอง บอกเมื่อต้องการขับถ่าย บอกชื่อตนเอง  แต่งตัวเอง เป็นต้น
การเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีให้กับเด็ก
1. การเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์
1.1 ให้แรงเสริม การที่เด็กทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วได้รับแรงเสริม เด็กจะอยากทำสิ่งนั้นอีก แรงเสริมไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ อาจเป็นคำชมเชย การให้แรงเสริมนี้จะค่อยๆ ลดน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่ต้องให้อีก เพราะเป็นนิสัยที่ทำจนเคยชินแล้ว
1.2 การสะสมของที่เด็กชอบ โดยกำหนดเมื่อเกิดพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ระดับหนึ่งมักได้ผลในเด็กเล็ก เพราะเป็นการ ตอบสนองที่เป็นรูปธรรม
2. การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
2.1 ไม่ให้ความสนใจ ใช้ได้ดีกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นปัญหารุนแรง หรือไม่มีอันตราย เช่น ร้องอาละวาด ดูดนิ้ว
2.2 การลงโทษ โดยทั่วไปมักไม่ส่งเสริมการลงโทษด้วยการตี เพราะขณะตีพ่อแม่ส่วนมากกำลังโกรธ การลงโทษที่ใช้กันมากคือ การขอเวลานอก คือ เอาเด็กออกจากบริเวณที่เด็กกำลังมีกิจกรรมอยู่ มาสู่ที่เงียบ ไม่มีของสนใจให้เล่น พ่อแม่ควรอธิบายกฎเกณฑ์ และขั้นตอนต่างๆ แก่เด็กอ่อนกว่า  เมื่อเด็กมีพฤติกรรมแบบใดจะถูกลงโทษโดยวิธีนี้ พ่อแม่ต้องไม่แสดงอารมณ์โกรธขณะใช้วิธีนี้
อุบัติเหตุและการป้องกันแก้ไข
อายุแรกเกิด -2 เดือน 3
อุบัติเหตุ
- หายใจไม่ออกเพราะหน้าจมไปในที่นอนที่นิ่มเกินไป หรือหน้าจมในน้ำขณะอาบน้ำ
วิธีป้องกัน
- ใช้ที่นอนที่ไม่นิ่มเกินไป
-  ประคองตัวและศีรษะให้ดีขณะอาบน้ำให้เด็กอ่อน ระวัง อย่าให้เด็กหลุดมือ
อายุ 3 เดือน – 8 เดือน
อุบัติเหตุ
- คลานตกจากที่สูง  คอติดอยู่กับซี่กรง
วิธีป้องกัน
- อย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว
- ทำที่กั้นแต่ต้องระวังให้ชิดกันพอที่ศีรษะเด็กจะไม่ลอดออกไปคนคอติด
อายุ 9 เดือน -1 ปี 6 เดือน
อุบัติเหตุ
- ของชิ้นเล็กเข้าปากหรือรูจมูก สำลัก ติดคอ หรือกลืน
วิธีป้องกัน
- เมื่อให้อาหารเสริมต้องระวังควรแกะก้าง เมล็ด หรือเศษกระดูกออก
อุบัติเหตุ
- ไฟฟ้าดู เช่น เล่นปลั๊กไฟ
วิธีป้องกัน
- ติดตั้งปลั๊กไฟให้พ้นมือเด็ก ใช้ฝาครอบ หรือที่เสียบพลาสติก ปิดไว้เมื่อไม่ใช้
- หาของเล่นให้เด็กใช้นิ้วมือหยิบจับใส่กล่อง
อายุ 1 ปี 6 เดือน -3 ปี
อุบัติเหตุที่พบ
- ตกบันได หรือตกจากโต๊ะ พลัดตกท่อ ตกบ่อ
- ของมีคมบาด หรือได้รับสารพิษ
- น้ำร้อนลวก ไฟลวก
- สำลัก
วิธีป้องกัน
- อย่าปล่อยเด็กไว้คนเดียว
- กั้นหัวบันไดหรือปิดประตู ปิดท่อกั้นรั้วรอบบ่อ
- เก็บของมีคม กาน้ำร้อน ยาและน้ำยาทำความสะอาด ย่าฆ่าแมลงให้พ้นมือเด็ก ใส่กลอนหรือกุญแจ
- อย่าเก็บอาหารปะปนกับยาหรือสารพิษ
- ไม่ให้เด็กเข้าใกล้เปลวไฟ หม้อกระทะ หรือกาที่ใส่ของร้อนอยู่
- สอนให้รู้จักเคี้ยวให้ดี ไม่กระโดดหรือตะโกนเวลาของอยู่ในปาก
การใช้ยาในเด็ก
หลักการใช้ยาให้ถูกต้องคือ ต้องถูกโรค ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกทาง และถูกต้องตามคำแนะนำ
- การให้ยาเด็ก
1. ต้องใช้ความอดทน พูดคุยอธิบายเหตุผล ให้กำลังใจ ไม่ควรกรอกยาใส่ปากขณะที่เด็กร้องไห้ หรือดิ้นมากๆ หรือปิดจมูกเด็ก เพราะอาจทำให้สำลักได้
2. ถ้ามีรสขม เผ็ด อาจผสมน้ำหวานได้
3. ไม่ควรผสมลงในนม เพราะถ้าเด็กกินนมไม่หมดจะได้ยาไม่ครบ
4. ถ้าต้องฝากเด็กให้ผู้ดูแลเด็ก ควรพบผู้ดูแลเด็ก เพื่อฝากยาไว้ให้เด็ก ได้ยาครบตามขนาดและเวลา
5. ใช้ช้อนยาที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ยาถูกขนาด
6. เด็กแรกเกิด -3 ปี ควรให้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
อุปกรณ์ และยาที่จำเป็นสำหรับเด็ก
1. ปรอทวัดไข้ ใช้วัดอุณหภูมิกรณีที่เด็กเป็นไข้ตัวร้อน
2. ช้อนด้ามแบน ไม้กดลิ้น ใช้กดลิ้นเวลาเด็กมีอาการชัก
3. ลูกยางแดง ใช้ดูดเสมหะออกจากปาก และจมูกเด็ก
4. ช้อนยา / ถ้วยตวงยา ใช้ตวงยาให้เด็กรับประทาน
5. สำลี / ผ้ากอซ / ผ้าพันแผล ใช้เวลาเด็กเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผล
6. ยาสามัญประจำบ้าน ใช้บรรเทาอาการก่อนพาไปพบแพทย์

สรุป
เด็กอายุ ตั้งแต่แรกเกิด -3 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆ ของชีวิตในทุกๆด้าน ในระยะแรกเกิด เด็กต้องมีการปรับตัวมีลักษณะพิเศษอีกอย่างก็คือ ปฏิกิริยาสะท้อน ทารกแรกเกิดเป็นระยะทีเหมาะสมในการเสริมสร้างสมอง โดยการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวพัฒนาการของเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากที่สุด เพราะยังช่วยตัวเองไม่ได้ ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจการดูแล ควรให้ความสนใจเอาใจใส่ ดูแลในทุกๆด้าน ทั้งการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป การดูแลด้านโภชนา การได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมรวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรค การจัดหาของเล่นที่เหมาะสม การป้องกันอุบัติเหตุ การเสริมสร้างประสบการณ์ และการปรึกษาปัญหาของเด็กวัยแรกเกิด -3 ปี ทุกๆด้านที่กล่าวมา นับว่ามีความสำคัญมากที่ช่วยให้การอบรมเลี้ยงดูทารกดำเนินไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม เพื่อการวางรากฐานที่ดีของชีวิต

ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยคำตำหนิ                               เขาก็จะเป็นคนล้มเหลว
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความก้าวร้าว                       เขาก็จะเป็นคนที่แข็งกร้าว
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยเย้ยหยัน                                เขาก็จะเป็นคนขลาดอาย
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความละอาย                         เขาก็จะเป็นคนขี้หวาดระแวง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความมานะ                          เขาก็จะเป็นคนที่อดทน
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการให้กำลังใจ                     เขาก็จะเป็นคนที่เชื่อมั่นใจตนเอง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความชื่นชม                         เขาก็จะเป็นคนซึ่งในคุณค่า
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความยุติธรรม                      เขาก็จะเป็นคนที่รักความยุติธรรม
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความรักความอบอุ่น          เขาก็จะเป็นคนมีศรัทธาในชีวิต
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการยอมรับ                           เขาก็จะเป็นคนที่พอใจในตนเอง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความเป็นมิตร                     เขาก็จะเป็นเด็กที่เต็มไปด้วยความรักและเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์